ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

ผู้ใช้มือถือมีสิทธิย้ายค่ายเบอร์เดิม แม้ติดสัญญาซื้อเครื่องใช้บริการ

ผู้ใช้มือถือมีสิทธิย้ายค่ายเบอร์เดิม 

แม้ติดสัญญาซื้อเครื่องใช้บริการ


เลือกเบอร์มงคลดีๆ ราคาถูก

เลือกเบอร์สวย เบอร์ตองท้าย โฟร์ เรียง เบอร์ 2 ตอง เบอร 2 คู่ 3คู่ 
คลิก...ชมพูเบอร์สวย.com



น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน



27 มกราคม 2560 07:07 น. (แก้ไขล่าสุด 27 มกราคม 2560 10:55 น.)


       น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
สำนักกฎหมายโทรคมนาคม ชี้ค่ายมือถือผูกสัญญาซื้อขายเครื่องโทรศัพท์ราคาพิเศษไม่ใช่สัญญาให้บริการโทรคมนาคม ผู้ใช้บริการมีเสรีภาพบอกเลิกสัญญา หรือย้ายเครือข่ายได้ตามที่กฎหมายให้สิทธิ โดยผู้ให้บริการไม่สามารถอ้างการผูกสัญญาจากการซื้อเครื่องราคาพิเศษมาเป็นเหตุผลในการปฏิเสธการขอโอนย้ายเลขหมาย หรือขอยกเลิกสัญญาใช้บริการได้
       
       สืบเนื่องจากการประชุม กทค. ครั้งที่ 28/2559 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภครายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ที่มีความประสงค์ต้องการโอนย้ายเครือข่ายผู้ให้บริการ (ย้ายค่ายเบอร์เดิม) แต่ทางบริษัท แจ้งว่าติดสัญญาใช้บริการเป็นเวลา 12 เดือน หากผู้ใช้บริการต้องการยกเลิกการใช้บริการ หรือโอนย้ายเครือข่ายก่อนครบกำหนดเวลา ผู้ใช้บริการก็ต้องชำระส่วนต่างค่าเครื่องโทรศัพท์ หลังจากนั้น ทางบริษัทจึงจะดำเนินการโอนย้ายเครือข่ายให้
       
       ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว กทค. มีความเห็นแตกเป็นสองทาง ทางหนึ่งเห็นว่าการจะย้ายเครือข่ายคือการบอกเลิกสัญญาที่มีต่อกันต้องกระทำให้ครบตามสัญญานั้น ไม่ว่าจะเป็นการชดใช้ค่าเสียหาย หรือใช้หนี้ แล้วถ้ามีเหตุอันควรแก่การบอกเลิกสัญญาก็เลิกสัญญาได้ เมื่อเลิกสัญญาแล้วก็สามารถย้ายเครือข่ายได้
       
       
ขณะที่ความเห็นของกรรมการอีกทางหนึ่ง เห็นว่าสัญญาแลกซื้อเครื่องโทรศัพท์ไม่ใช่สัญญาบริการโทรคมนาคม จึงไม่อยู่ในอำนาจกำกับดูแลของ กสทช. อีกทั้งผู้ร้องเรียนไม่ได้เป็นหนี้จากการค้างชำระค่าบริการ จึงไม่เข้าเหตุที่บริษัทจะปฏิเสธคำขอการโอนย้ายเลขหมายได้ ในที่สุด ที่ประชุม กทค. จึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำข้อสังเกตเหล่านี้ไปหารือกับฝ่ายกฎหมาย และนำเสนอที่ประชุม กทค. เพื่อพิจารณาอีกครั้ง
       
       ล่าสุด สำนักกฎหมายโทรคมนาคม ได้มีหนังสือลงวันที่ 19 มกราคม 2560 เพื่อตอบข้อหารือของ กทค. โดยได้ให้ความเห็นทางกฎหมาย สรุปสาระสำคัญได้ว่า 1.สถานะของข้อตกลงเกี่ยวกับการแลกซื้อเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ในราคาพิเศษนั้นมีเจตนามุ่งหมายให้เกิดนิติกรรมการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสำคัญ จึงมิใช่เป็นการกำหนดเงื่อนไขหรือข้อสัญญาที่เกี่ยวข้องต่อการให้บริการโทรคมนาคมระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการ ข้อตกลงนี้จึงมิใช่เป็นสัญญาให้บริการโทรคมนาคมที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก กสทช. แต่อย่างใด
       

       2.แม้ข้อตกลงจะมีการกำหนดให้ผู้แลกซื้อจะต้องใช้บริการต่อเนื่องภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ตาม แต่ข้อตกลงไม่ได้กำหนดห้าม หรือจำกัดสิทธิของผู้แลกซื้อในการยกเลิกสัญญาให้บริการโทรคมนาคมแต่อย่างใด ดังนั้น ผู้แลกซื้อก็ยังคงมีสิทธิในการยกเลิกสัญญาใช้บริการโทรคมนาคมได้ตามกฎหมายทุกประการ ซึ่งเป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549
       
       3.แม้ข้อตกลงจะมีการกำหนดให้ผู้แลกซื้อเครื่องจะต้องใช้บริการต่อเนื่องภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดห้ามหรือจำกัดสิทธิของผู้แลกซื้อในการใช้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่อย่างใด ดังนั้น ผู้แลกซื้อจึงยังคงมีสิทธิ ย้ายค่ายเบอร์เดิมได้ตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ฯ
       
       4.ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 กสทช. มีอำนาจเพียงเฉพาะการสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเมื่อปรากฏเรื่องร้องเรียนว่า ผู้รับใบอนุญาตกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย เงื่อนไขการอนุญาต สัญญาการให้บริการ หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการที่ดี ในทางกลับกัน การพิจารณาเรื่องร้องเรียน กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ กสทช. มีอำนาจในการสั่งให้ผู้ใช้บริการจะต้องดำเนินการใดๆ เหมือนเช่นกรณีของผู้รับใบอนุญาต ดังนั้น กทค. จึงไม่มีอำนาจในการสั่งให้ผู้ใช้บริการจ่ายค่าปรับ หรือชดใช้ราคาเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้แก่บริษัทฯ
       
       
ทางด้าน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน แสดงความเห็นว่า กรณีนี้ไม่ใช่การผ่อนค่าเครื่องโทรศัพท์ แต่เป็นการใช้โปรโมชัน และหากต้องการยกเลิกสัญญาต้องชำระส่วนลดค่าเครื่องคืน จึงชัดเจนว่าเรื่องนี้ไม่ใช่หนี้ค่าบริการที่อยู่ในการกำกับดูแลของ กสทช. สัญญานี้จึงไม่ใช่สัญญาในอำนาจของ กสทช. ผู้ให้บริการจึงต้องไปดำเนินการฟ้องเอง และยืนยันว่าในเรื่องการโอนย้ายเครือข่ายจะต้องชำระหนี้ที่เกิดขึ้นก่อน
       
       แต่กรณีนี้เป็นหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญา จึงเกิด ณ วันที่ยกเลิกสัญญา หมายความว่า หนี้ค่าเครื่องจะยังไม่เกิดจนกว่ามีการโอนย้ายค่าย และผู้ใช้บริการมีความรับผิดที่ต้องจ่าย แต่ผู้ให้บริการไม่สามารถบอกว่าต้องจ่ายก่อนจึงจะย้ายค่ายได้ ดังนั้น ถ้าบริษัทบอกว่าต้องชำระหนี้นี้ก่อนก็เท่ากับเป็นการกีดกันไม่ให้ย้ายค่าย ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย
       
       “เรื่องนี้เป็นเรื่องทำนองเดียวกับการใช้สิทธิย้ายค่ายเบอร์เดิมของผู้ใช้บริการในระหว่างรอบบิล กล่าวคือ หนี้รอบบิลสุดท้ายเป็นเรื่องที่เกิดก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกสัญญา แน่นอนว่าเป็นหนี้ที่ผู้ใช้บริการยังคงต้องรับผิดชอบ แต่ไม่ใช่เหตุผลที่ผู้ให้บริการจะใช้เป็นข้ออ้างหรือเงื่อนไขในการที่ปฏิเสธการขอย้ายค่ายของผู้ใช้บริการได้

ขอขอบคุณ

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น